เมนู

แต่อาจารย์พวกอื่นอีกกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระดำรัสนี้ว่า
ไปเถิดภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเข้าไปอาศัยเสนาสนะนั้นนั่นแหละ อยู่กันเถิด
แล้วจึงตรัสว่า อนึ่งเล่า ภิกษุผู้อยู่ป่าควรรู้จักบริหาร. บริหารอย่างไร. บริ-
หารอย่างนี้คือ แผ่เมตตา 2 เวลา คือทำเวลาเย็นและเช้า ทำพระปริตร 2 เวลา
เจริญอสุภ 2 เวลา เจริญมรณัสสติ 2 เวลา และนึกถึงมหาสังเวควัตถุ 8 ทั้ง
2 เวลา ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ. อบายทุกข์ 4 ชื่อมหาสังเวควัตถุ 8.
อีกนัยหนึ่ง ชาติชราพยาธิมรณะ 4 อบายทุกข์เป็นที่ 5 ทุกข์มีวัฏฏะ
เป็นมลในอดีต 1 ทุกข์มีวัฏฏะเป็นมูลในอนาคต 1 ทุกข์มีการแสวงอาหารเป็น
มูล ในปัจจุบัน 1. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้น ทรงบอกการบริหารอย่างนี้แล้ว
จึ้งได้ตรัสพระสูตรนี้เพื่อเป็นเมตตา เพื่อเป็นพระปริตรและเพื่อฌานอันเป็น
บาทแห่งวิปัสสนาแก่ภิกษุเหล่านั้น. พึงทราบการชี้แจงบทเหล่านั้นว่า เยน วุตฺตํ
ยทา ยตฺถ ยสฺมา เจ
และการชำระนิทาน ด้วยประการฉะนี้.
มาติกาหัวข้อนั้นใด ข้าพเจ้าตั้งไว้ว่า เยน วุตฺตํ ยทา ยตฺถ ยสฺมา
เจเตส ทีปนา นิทานํ โสธยิตฺวา.
มาติกาหัวข้อนั้น เป็นอันข้าพเจ้ากล่าว
พิศดารแล้ว โดยอาการทั้งปวง ด้วยกถามีประมาณเพียงนี้.

พรรณนาคาถาที่ 1


บัดนี้ จะเริ่มพรรณนาความแห่งพระสูตรนั้น ที่ทำการชำระนิทานแล้ว
อย่างนี้ เพราะข้าพเจ้ากล่าวไว้ว่า จึงจักทำการพรรณนาความแห่งพระสูตรนั้น
ดังนี้. ในคาถานั้น จะเริ่มพรรณนาบทแห่งคาถานี้ว่า กรณียมตฺถกุสเลน
ก่อน ดังนี้. บทว่า กรณียํ แปลว่า พึงทำ อธิบายว่า ควรแก่การทำ.
ปฏิปทา ชื่อว่าอรรถ หรือประโยชน์เกื้อกูลแก่คนอย่างใดอย่างหนึ่งประโยชน์
เกื้อกูลนั้นทั้งหมด ท่านเรียกว่าอรรถะ เพราะไม่มีกิเลสดังข้าศึก ชื่อว่า